แม้ในท้องตลาดเวลานี้มีร้านค้าเคลื่อนที่
แต่มักจะเป็นการนำรถมินิทรัก หรือรถตู้เก่า มาดัดแปลง
ซึ่งเท่าที่ทราบราคารถเหล่านี้ค่อนข้างสูง
ผู้ประกอบการรายใหม่อาจจะมีงบประมาณไม่มากนักและยังไม่พร้อมที่จะลงทุน
เพราะหลังจากซื้อรถยนต์แล้วจะต้องนำงบประมาณอีกส่วนหนึ่งไปลงทุนกับการ
ตกแต่งร้านให้สวยงาม พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ประกอบอาชีพ
และหาวัตถุดิบในการประกอบอาหาร งบประมาณต่างๆ เหล่านี้อาจจะบานปลายได้
ถ้าไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำ
ได้ไอเดียจากกรุงลอนดอนคุณศุภวัฒน์ ย้อนให้ฟังถึงที่มาที่ไปก่อนจะมาทำธุรกิจร้านค้าติดล้อว่า หลังจากทำงานได้พักหนึ่ง แต่ฐานเงินเดือนในตอนนั้นไม่มากนัก จึงตัดสินใจไปหาประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ เพื่อจะทำให้เกิดมุมมองที่กว้างขึ้น โดยไปเรียนภาษาที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และวางแผนว่าหากกลับเมืองไทยอยากทำธุรกิจนำเข้าและส่งออก
การใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่อยู่ที่นั่น เป็นเวลาปีเศษๆ นอกจากเรียนและทำงานแล้ว ถ้ามีเวลาว่างเขาจะชวนภรรยาไปสำรวจตามแหล่งช็อปปิ้งหรือตลาดนัดตามย่านต่างๆ ทั้งในลอนดอนและประเทศในแถบยุโรป เพื่อดูว่าผู้ประกอบการในเมืองผู้ดีขายอะไรกันบ้าง สินค้าหรือบริการแบบไหนที่ได้รับความนิยม และอะไรที่เป็นข้อแตกต่างกับบ้านของเรา โดยหวังจะนำแนวความคิดเหล่านั้นมาประยุกต์ให้เหมาะกับธุรกิจที่วางแผนจะทำใน วันข้างหน้า
“หลังจากไปเที่ยวมาหลายที่ มีสิ่งหนึ่งที่ผมสะดุดตามากคือ ร้านค้าเคลื่อนที่ที่นำรถยนต์ทั้งคันมาดัดแปลงเป็นร้านค้าขายอาหาร เช่น นำรถเมล์ รถตู้ รถกระบะ มาทำเป็นร้านอาหารพ่วงติดกับรถยนต์พร้อมกับแต่งเติมสีสันให้ดึงดูดสายตาของ ลูกค้า ร้านค้าเหล่านี้จะขายอาหารไปเรื่อยๆ ตามท้องถนนหรือเปิดขายในสวนสาธารณะไม่ยึดติดกับที่ ภายในถูกดัดแปลงเป็นร้านค้าประเภทต่างๆ เช่น ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม ขับให้บริการตามแหล่งชุมชนอำนวยความสะดวกถึงที่ ของที่นำมาขายจะเป็นอาหารหรือของทานเล่นที่ทำง่ายและสนนราคาไม่แพง เรียกได้ว่ามาเคาะประตูถึงหน้าบ้านผู้ซื้อก็สะดวกไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไป ตลาดและได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก”
จุดนี้แหละที่ทำให้เขาได้ไอเดีย และอยากจะนำเข้ามาทำในเมืองไทย เพราะเจ้าตัวมองว่าแม้ในบ้านเราจะมีรถดัดแปลงขายของต่างๆ นานาที่เห็นกันทั่วไป แต่ก็ยังมีหลายอย่างที่เป็นปัญหาและไม่ตอบโจทย์คนขายของ
ส่วนใหญ่เป็นรถดัดแปลง
“ในเมืองไทยเริ่มจะเห็นแนวความคิดแบบนี้เกิดขึ้นบ้างแล้ว เช่น การนำรถตู้ รถตุ๊กตุ๊ก รถมินิทรัก และรถกระบะ หรือแม้แต่มอเตอร์ไซค์มาดัดแปลงเป็นร้านค้าขายของ โดยส่วนใหญ่จะดัดแปลงเป็นชั้นโชว์สินค้าหรือร้านค้าขายอาหารที่ทำง่ายๆ เช่น ขายเครื่องดื่ม ไอศกรีม ผลไม้ หรือขายของใช้เบ็ดเตล็ด แต่รูปทรงและการตกแต่งอาจยังไม่ดึงดูดความสนใจจากลูกค้าเท่าที่ควร อีกทั้งยังมีข้อจำกัดของพื้นที่การใช้งาน เช่น ขนาดความสูง ความกว้าง และการจัดวางอุปกรณ์ภายในร้านไม่ก่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานมากนัก ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของร้านจะนำรถยนต์มาดัดแปลงทำกันเอง
รูปแบบร้านค้าติดล้อที่เป็นที่นิยมคือทำเป็นร้านขายอาหารประเภทเครื่องดื่ม เช่น ร้านกาแฟ ร้านชานมไข่มุก ร้านนม แต่จริงๆ แล้วสามารถดัดแปลงเป็นสถานบริการอื่นๆ ได้อีก เช่น ร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่น ร้านแฮมเบอร์เกอร์ ร้านขายก๋วยเตี๋ยว ร้านขายอาหารตามสั่ง หรือแม้แต่ทำเป็นร้านตัดขนสุนัข ห้องสมุด รถบ้าน เป็นต้น”
เมื่อเห็นจุดอ่อนของรถดัดแปลงเช่นนี้ เขาจึงคิดรูปแบบที่จะสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและหลากหลายตามความ ต้องการของลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายอาจจะขายสินค้าที่แตกต่างกัน
“ในการผลิตร้านค้าเคลื่อนที่นั้น ผมต้องการให้ภายในรถเป็นครัวจริงๆ สามารถปรุงอาหารสดได้ เช่น อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว หรือดัดแปลงให้บริการในลักษณะอื่นได้ด้วย โดยผมได้ศึกษาข้อมูลเรื่องวัสดุที่จะทำเป็นโครงร้านค้า ขนาดที่เหมาะสมของตัวร้านค้า อุปกรณ์ตกแต่งภายใน ที่สำคัญ ทำอย่างไรให้ร้านค้าเคลื่อนที่ไปได้”
ราคาตั้งแต่ 90,000-149,000 บาท
พอได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว เขาได้ไปปรึกษากับเพื่อนที่ทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ให้ช่วยออกแบบรูปทรงให้มี ความสวยงามและสร้างแบบจำลองขึ้นมา เพื่อให้วิศวกรด้านไฟเบอร์กลาสคำนวณขนาดและสัดส่วนต่างๆ ให้มีความแข็งแรงและจัดทำร้านค้าต้นแบบขึ้นมา โดยเน้นคุณสมบัติให้มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง ทนต่อไฟหากต้องประกอบอาหารภายใน และป้องกันความร้อนจากแสงแดดหากต้องตั้งร้านในพื้นที่กลางแจ้ง ส่วนประกอบที่สำคัญอีกประการคือการลากจูงเพื่อการเคลื่อนที่ เพราะร้านค้าติดล้อนี้สามารถใช้รถยนต์ลากจูงไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการได้
ภายในตัวร้านถูกออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะตามแบบที่ลูกค้าต้องการ พนักงานสามารถเข้าไปทำงานได้ 2-3 คน ด้วยขนาดที่มีความลงตัวในการใช้งานและเหมาะกับการเคลื่อนย้าย จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ได้ดีแก่ผู้ประกอบการที่จะนำร้านค้าไปใช้งานในรูปแบบ ต่างๆ ไม่เฉพาะทำเป็นร้านขายอาหารเพียงอย่างเดียว
หลังจากทุกอย่างลงตัว เขาจึงได้นำแบบไปให้โรงงานในจังหวัดชลบุรีประกอบเป็นตัวอย่าง ซึ่งถือเป็นรถติดล้อคันแรกที่ทำขึ้นมา และสามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการได้อย่างคุ้มค่า เพราะในการดีไซน์ภายในตัวรถนั้น ลูกค้าต้องการแบบไหนก็ระบุได้ โดยร้านค้าติดล้อเริ่มต้นที่ ราคา 90,000 บาท ส่วนแบบตกแต่งสำเร็จรูปพร้อมเปิดขายได้ทันที ราคา 149,000 บาท
“นอกจากสวยงามและความปลอดภัยแล้ว การจัดวางโครงสร้างภายในก็เป็นส่วนสำคัญ เราเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถกำหนดแบบภายในได้ตามที่ต้องการ โดยเราจะตกแต่งทั้งภายในและภายนอกสำเร็จรูปให้พร้อมเปิดร้านได้ทันที เพื่อตอบโจทย์การใช้งานเป็นร้านค้าขายอาหารหรือเปิดเป็นสถานประกอบการได้ทุก ประเภท โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องประโยชน์การใช้สอยภายในร้าน”
คุณศุภวัฒน์ พูดถึงจุดเด่นที่สำคัญของร้านค้าติดล้อ “TOP SHOP” ว่า โครงสร้างของร้านทำจากไฟเบอร์กลาส 100 เปอร์เซ็นต์ มีความแข็งแรงคงทนสูง น้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายสะดวก (ใช้รถกระบะลากได้) หากต้องเปิดบริการในสถานที่กลางแจ้งหลังคาร้านได้ติดตั้งฉนวนกันความร้อนจาก แสงแดด และหากเกิดอุบัติเหตุจากการถูกชนโครงสร้างที่ทำจากไฟเบอร์กลาสจะไม่เสียหาย ทั้งคัน ตัวร้านสามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดได้
เจ้าตัวแจกแจงว่า การค้าขายที่ใช้ร้านค้าติดล้อแบบนี้เทียบกับการมีหน้าร้านทั่วไป เป็นแบบรถเข็น หรือพวกแผงลอยแล้ว มีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดหลายอย่าง อาทิ 1. ลงทุนครั้งเดียว มีอุปกรณ์ครบ พร้อมเปิดร้านได้ทันที 2. สามารถเคลื่อนย้ายทำเลค้าขายได้ ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เพราะบ้านเรามีแหล่งชุมชนจำนวนมากกระจายตัวอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด สถานศึกษา สถานที่ทำงาน รวมทั้งหมู่บ้านต่างๆ อีกทั้งสามารถเปิดขายอาหารกันได้ทั้งวัน 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดการกระตุ้นยอดขายได้มากยิ่งขึ้น
3. รูปแบบร้านค้าดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในร้านครบครัน เช่นมี ระบบน้ำและไฟ 4. สะอาด แข็งแรงทนทาน ไม่ต้องกังวลเรื่องสภาพอากาศ เปิดขายได้ทุกฤดูกาล 5. หากผู้สนใจไม่มีความรู้ด้านการทำอาหารเรามีที่ปรึกษาให้คุณทำเป็นภายใน 1 วัน และ 6. ประหยัดต้นทุนการตกแต่งร้าน เราบริการออกแบบป้ายร้านฟรี พร้อมเมนูอาหาร
หากผู้ประกอบการรายใด ซื้อรถติดล้อของเขา และสนใจจะเข้าอบรมสูตรอาหาร และเครื่องดื่มนั้น เขาก็มีให้เลือกตามความต้องการ อาทิ 1. สูตรทำกาแฟสด : เอสเปรสโซ่ อเมริกาโน่ คาปูชิโน่ ลาเต้ มอคค่า โกโก้ ชานม ชาเขียว เป็นต้น 2. สูตรทำสเต๊ก : ทีโบน ริบอาย พอร์คช็อพ สเต๊กหมู สเต๊กไก่ 3. สูตรทอดเฟรนช์ฟรายด์ นักเก็ต ไก่ แบบ KFC พร้อมกันนั้นจะให้คำแนะนำในการเลือกวัตถุดิบให้ได้ของถูกและมีมาตรฐาน
คุณศุภวัฒน์ ระบุว่า แม้ในท้องตลาดเวลานี้มีร้านค้าเคลื่อนที่ แต่มักจะเป็นการนำรถมินิทรัก หรือรถตู้เก่า มาดัดแปลง ซึ่งเท่าที่ทราบราคารถเหล่านี้ค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการรายใหม่อาจจะมีงบประมาณไม่มากนักและยังไม่พร้อมที่จะลงทุน เพราะหลังจากซื้อรถยนต์แล้วจะต้องนำงบประมาณอีกส่วนหนึ่งไปลงทุนกับการ ตกแต่งร้านให้สวยงาม พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ประกอบอาชีพ และหาวัตถุดิบในการประกอบอาหาร งบประมาณต่างๆ เหล่านี้อาจจะบานปลายได้ ถ้าไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำ
แม้จะเพิ่งเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้ไม่นาน แต่ผลการตอบรับก็ทำให้เขามีกำลังใจ เพราะมีลูกค้าสอบถามกันมามาก อย่างเช่นลูกค้าจากสุพรรณบุรีทำเป็นร้านชานมไข่มุก เปิดขายที่โรงเรียนบรรหารแจ่มใส 3 ลูกค้าจากนครนายกเปิดขายเป็นร้านกาแฟสดที่ตลาดบ้านนา เป็นต้น ซึ่งลูกค้าเหล่านี้ได้เปิดกิจการอยู่ก่อนแล้วแต่ต้องการเพิ่มยอดขายและเข้า ถึงกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้นจึงสนใจสั่งซื้อร้านค้าติดล้อ
“ตอนนี้มีลูกค้าติดต่อเข้ามาอยากจะทำเป็นสถานประกอบการในลักษณะอื่นๆ เช่น ร้านตัดขนสุนัข ห้องสมุด ร้านขายเนื้อสุกร หรือแม้แต่สื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่วิ่งขับตามท้องถนน ทางเราก็สามารถประยุกต์ทำให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ เพราะพื้นที่การใช้นั้นรองรับการทำงานทุกประเภทและมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ต่างๆ ครบครัน”
สำหรับผู้สนใจสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ “TOP SHOP” ได้ที่ โทรศัพท์ (091) 250-9958 E-mail : TopShop@usa.com หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.topshopusa.lnwshop.com/ หรือจะแวะเข้ามาชมร้านค้าตัวอย่าง ตั้งอยู่เลขที่ 151 ซอยบุญยรัตน์ ถนนเทอดไท แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
credit by : http://www.sentangsedtee.com/news_detail.php?rich_id=711§ion=1&column_id=1
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt