ถ้า หากเราพูดถึง Food Truck ที่กำลังเป็นที่นิยมในหลายมุมเมืองทั่วโลก (ในประเทศไทยอย่าง Summer Street หรือ Mother Trucker) จัดจำหน่ายอาหารบนรถที่เคลื่อนที่ไปตามจุดต่างๆ จนในวันนี้กลายเป็นวัฒนธรรมย่อยที่น่าจับตามองสำหรับอเมริกา ร้านค้าเคลื่อนที่ในลักษณะนี้เริ่มก้าวข้ามสินค้าจำพวกอาหารเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงเสื้อผ้าบูติก ไปจนถึงแกลเลอรี่เเสดงงานศิลปะ (ในนิวยอร์ก มีรถที่เรียกว่า Art cart NYC พื้นที่จัดเเสดงงานศิลปะขนาดเล็กที่จะปรากฏตัวในพื้นที่อย่างสวนสาธารณะหรือ กิจกรรมพิเศษในช่วงฤดูร้อน) ที่เข้ามาร่วมเล่นเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์นี้เช่นกัน
และหากใครมีโอกาสแวะเวียนไปที่ถนน Fifth Avenue ในแมนฮัตตัน ในทุกวันอังคารเเละวันพฤหัส ก็อาจจะเห็นกลุ่มคนที่ปีนเข้าปีออกหลังรถบรรทุก 1 คัน ที่เมื่อมองดูใกล้ๆ เเล้วจะเห็นชื่อเขียนว่า “Nomad” อยู่ข้างรถคันนี้ ที่ภายในบรรจุเสื้อผ้าสไตล์ยิปซี โบฮีเมียน รวมไปถึงเครื่องประดับทำมือสุดเก๋ไว้มากมาย
Nomad เป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่ก่อตั้งขึ้นโดย Jessie Goldenberg ในเดือนเมษายน ปี 2013 ภายใต้เเนวคิดว่า wandering fashion boutique ดำเนินธุรกิจแบบ Pop up store หรือร้านค้าที่จะปรากฏตัวในงานอีเว้นท์พิเศษ เทศกาลดนตรี หรือบนถนนรอบๆ เเมนฮัตตัน บรู้คลิน และโฮโบเกน Nomad เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ American Mobile Retail Association (AMRA) เเบรนด์นี้เป็น 1 ใน 500 “Fashion Truck” ที่กระจายตัวอยู่ทั่ว 50 รัฐ ในอเมริกา ซึ่ง Jessie กล่าวว่า สำหรับวงการเเฟชั่นเเล้ว เทรนด์นี้ปรากฏครั้งเเรกขึ้นเมื่อปี 2010 เหล่าผู้บุกเบิกนั้นมีทั้งทีประสบความสำเร็จเเละล้มเหลว ซึ่งผู้ก่อตั้งรุ่นหลังๆ อย่างเธอสามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาดต่างๆ และนำมาใช้กับเเบรนด์ของตัวเอง
เธอเคยได้รับการโหวตสมัยเรียนมัธยมปลายว่าเป็นผู้ที่เเต่งตัวดีเยี่ยมที่สุดของ
รุ่น ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่ติดตัวเธอมาตลอดว่า หากมีโอกาส
เธอจะเปลี่ยนความหลงใหลในโลกแฟชั่นของเธอให้กลายเป็นธุรกิจเล็กๆ สักครั้ง
และเพราะ Jessie เป็นคนประเภท
เมื่อมีความคิดใดเกิดขึ้นมาในหัวเเล้ว จะต้องทุ่มเทเต็มที่เพื่อทำให้สำเร็จ
เธอเสิร์ชหาและได้รถบรรทุกจาก Craigslist
และด้วยความช่วยเหลือจากครอบครัวเเละเพื่อน Jessie
ใช้เวลาหกสัปดาห์ในการซ่อมเเซม เปลี่ยนแปลง
และตกเเต่งรถบรรทุกให้พร้อมใช้งาน ซึ่งในช่วงเริ่มต้น
เธอทั้งต้องกู้ยืมเงิน สมัครบัตรเครดิต
และใช้วิธีระดมทุนจนได้เงินสนับสนุนมา 5 พันเหรียญฯ จาก Kiva และ Indiegogo
โดยไม่ลืมแผนประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียล มีเดีย ทั้ง facebook, twitter และ
instagram
Jessie
คัดเลือกเสื้อผ้าจากดีไซเนอร์ในนิวยอร์กและเเอล.เอ สินค้าเเต่ละแบบมีสต็อก 6
ชิ้น และขนาดละ 2 ชิ้น โดยสินค้าทุกชิ้นราคาต่ำกว่า 100 เหรียญฯ
เธอสร้างเครือข่ายดีไซเนอร์เสื้อผ้าได้ 30-50 คน
เเละดีไซเนอร์ที่ออกแบบเครื่องประดับ 8-15 คน และเเน่นอน เธอมีลูกค้า
(ที่ซื้อสินค้าจริงๆ) อยู่ที่ 20-50 คนต่อวัน
ส่วนหนึ่งที่เป็นเสน่ห์อันน่าเย้ายวนใจสำหรับ
ธุรกิจประเภทนี้คือ งบประมาณในการก่อตั้งที่ไม่สูงมากนัก สำหรับ Nomad
เธอใช้งบประมาณอยู่ที่ 7 หมื่นเหรียญฯ และมีค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ 1
พันเหรียญฯ เพื่อเป็นงบประมาณสำหรับค่าก๊าซ ค่าบำรุงรถ ค่าจอดรถ
โดยเธอใช้เวลาเพียง 8 เดือนเท่านั้นในการคืนทุน
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดหน้าร้านที่บรู้คลินเเล้ว
เธออาจจะต้องใช้เงินทุนมากถึง 1 แสนถึง 1 เเสน 5 หมื่นเหรรียญฯ
สำหรับการได้ร้านค้าขนาดกลางบริเวณหัวมุมถนน
และมีค่าเช่ารายเดือนที่ต้องจ่ายอาจมากถึง 1 หมื่นถึง 1 หมื่น 2 พันเหรียญฯ
ต่อเดือน
แต่ส่วน
ที่สำคัญที่สุดของ Fashion truck
คือในบางครั้งอาจโดนบั่นทอนกำลังใจจากคนรอบข้างบ้างว่าเป็นธุรกิจเด็กเล่น
เพราะไม่เหมือน Food Truck ตรงที่ ถ้าเป็นอาหารแล้ว
คือลูกค้าสั่งอาหารจากนอกรถ รอเวลาที่จะปรุงอาหารจากในรถ
ก่อนจะเสิร์ฟพร้อมทาน แต่สำหรับเสื้อผ้าเเล้ว
มีข้อควรระวังเรื่องความเป็นส่วนตัวมากมาย อย่างเช่นเรื่องของการลองสินค้า
แต่การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ที่ทวีจำนวนมากขึ้นเหล่านี้
ก็อาจเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า
อุตสาหกรรมแฟชั่นกำลังเปลี่ยนแปลงทิศทางสู่การจัดจำหน่ายในรูปแบบใหม่
เหล่าดีไซเนอร์อาจมีโอกาสและพื้นที่ให้จัดจำหน่ายสินค้าของตัวเองมากยิ่ง
ขึ้น พร้อมๆ กับที่เมืองอาจต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องกฎหมาย
และการรับมือกับธุรกิจหน้าร้านในรูปแบบเดิมที่อาจไม่พึงพอใจได้
• • •
ซึ่งหลังจากจบการศึกษาจาก New
York University ในปี 2010
ความฝันว่าจะเปิดหน้าร้านขายเสื้อผ้าของตัวเองก็ดูจะเต็มไปด้วยอุปสรรค
สำหรับนักศึกษาจบใหม่ ทั้งเรื่องเงินทุนหรือเรื่องเครดิตต่างๆ
เธอจึงตัดสินใจเข้าทำงานที่ CBS และ Ogilvy's Eyepatch Productions
ตามที่เธอเรียนมาโดยตรง
ซึ่งเป็นงานที่เธอทำแล้วรู้สึกไม่อินเเละไม่เหลือความหลงใหลอยู่ในนั้น
แต่โอกาสก็เป็นของผู้มองเห็น เมื่อวันนึงในปี 2012 เธอดูรายการ Today
ที่ในวันนั้นเนื้อหาในรายการเล่าเรื่องราวของ Fashion Truck ในอเมริกา
และมีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่ออกมาเล่าถึงเรื่องราวของการประยุกต์เเนว
คิดแบบ Food Truck สู่วงการแฟชั่นcredit by : http://incquity.com/articles/nomad-truck
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt