เทรนด์ “ร้านอาหารเคลื่อนที่” บูม ไอเดียตอบโจทย์ “food on the go”
ก่อนหน้านี้ บรรดาแฟรนไชส์ธุรกิจอาหารอาจต้องปวดหัวกับการเฟ้นหาทำเลดีๆ สำหรับเปิดร้าน เพื่อช่วยปั๊มยอดขายให้ได้คุ้มกับค่าแฟรนไชส์ที่เสียไป แต่ทำเลทองก็มักมาพร้อมราคาที่ไกลเกินเอื้อม ไม่ว่าจะซื้อขาดหรือเช่าก็ตาม
ทว่าตอนนี้ธุรกิจอาหารไม่ต้องกังวลกับเรื่องทำเลอีกต่อไปแล้ว เพราะการเปิดร้านไม่ใช่ทางเลือกเดียวที่จะโกยเงินโกยทอง พวกเขาสามารถทำเงินได้ทุกที่บนท้องถนน
วอลล์สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า ขณะนี้เชนร้านอาหารใหญ่น้อย อาทิ Cousins Submarines เทสติ- ดีไลต์ และทอปเปอร์ส พิซซ่า เริ่มหันมาเกาะกระแส “ร้านอาหารเคลื่อนที่” ที่กำลังมาแรง โดยสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารบนรถเร่ที่ตระเวนไปทั่วทุกมุมถนนในสหรัฐอเมริกา
นี่ทำให้ร้านอาหารแบบดั้งเดิมหลายแห่งหันมาเพิ่มหน่วยรถเคลื่อนที่ในช่วง หลายปีมานี้ และมีแนวโน้มว่าอีกหลายร้านจะพากันร่วมกระแสนี้กันมากขึ้น แม้แต่แบรนด์ดังๆ
“โรเบิร์ต สติดแฮม” ประธานบริษัทแฟรนไชส์ ไดนามิกส์ ระบุว่า ภายในสิ้นปีหน้า ผู้คนจะเริ่มเห็นแบรนด์ใหญ่ๆ เปิดตัวรถขายอาหารเคลื่อนที่มากขึ้น เขายอมรับว่าได้หารืออย่างจริงจังกับแฟรนไชส์อาหารระดับชาติหลายราย เกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจแบบเคลื่อนที่ แต่ไม่ขอเปิดเผยชื่อแบรนด์
“ฌอน บาซินสกี” ผู้อำนวยการโครงการธุรกิจรถเคลื่อนที่ อธิบายว่า รถขายอาหารเคลื่อนที่มักจะเป็นรถปิคอัพหรือรถตู้ที่ตกแต่งใหม่ให้พร้อมพรัก ด้วยเครื่องครัว และอุปกรณ์ที่จำเป็นยัดลงไปในพื้นที่อันจำกัด ซึ่งรถเหล่านี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในหลายเมือง
“ฮัดสัน ไรห์เล” รองประธานอาวุโสฝ่ายวิจัยประจำสมาคมร้านอาหารแห่งสหรัฐในวอชิงตัน กล่าวว่า เว็บไซต์อย่าง ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และโฟร์สแควร์ มีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงร้านอาหารเคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น เพราะจะรู้ข้อมูลว่ามีร้านอะไร ตั้งอยู่บนส่วนไหนของถนนสายอะไร
ขณะที่ในงานแสดงสินค้าปีนี้ที่จัดโดยสมาคม พื้นที่ราว 1,500 ตารางฟุต ถูกจับจองโดยบริษัทที่ขายอาหารบนรถเคลื่อนที่
ไรห์เล กล่าวว่า ผู้บริโภคที่ชื่นชอบการซื้ออาหารระหว่างเดินทางกำลังเพิ่มขึ้น
ด้าน “เอลิซา แฮร์ริสัน” โฆษกของสมาคมแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ มองว่า การขายอาหารบนรถเป็นรูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับธุรกิจแฟรนไชส์
“แอรอน เว็บสเตอร์” หุ้นส่วนของแฟรนไชส์ร้านเทสติ-ดีไลต์ ในฮุสตัน กล่าวว่า เขาซื้อรถตู้มือสองมาเมื่อปีที่แล้ว ในราคา 90,000 ดอลลาร์ โดยซื้อต่อจากบริษัทขนมแช่แข็งแบรนด์ดังรายหนึ่ง จึงมีอุปกรณ์ครบครัน ทั้งตู้เย็นขนาดเล็ก ตู้แช่แข็ง อ่างล้างจาน เคาน์เตอร์ขายสินค้า อุปกรณ์ทำไอศกรีม บาร์ท็อปปิ้ง และเครื่องปั่นไฟ ซึ่งเขานำมาพ่นโลโก้แบรนด์และแอดเดรสเว็บไซต์ของบริษัท
เว็บสเตอร์ อดีตวาณิชธนกร ปิ๊งไอเดียขายไอศกรีมบนรถตู้ในงานเทศกาลต่างๆ ของชุมชน และเป็นช่องทางเสริมในธุรกิจขายอาหารที่เขาซื้อแฟรนไชส์มา เพราะแม้ยอดขายผ่านรถเคลื่อนที่จะมีสัดส่วนเพียง 2% ของรายได้รวมทั้งหมดของธุรกิจที่ทำอยู่ แต่นี่ก็เป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยสร้างความตระหนักเรื่องแบรนด์ให้แก่ผู้ บริโภค เหมือนบิลบอร์ดที่เคลื่อนที่ได้
ถึงตอนนี้ “เว็บสเตอร์” เป็นแฟรนไชซีเพียงรายเดียวของเทสติ-ดีไลต์ ที่มีรถขายอาหารเคลื่อนที่ แต่ “บิลล์ ซิงเก” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของเทสติ-ดีไลต์ กล่าวว่า บริษัทมีแผนจะขยายรถขายเคลื่อนที่อย่างน้อย 10 คันภายในสิ้นปีหน้า
โดยเทสติ-ดีไลต์จะขายรถที่ติดตั้งอุปกรณ์ครบครันให้แก่แฟรนไชซี ซึ่งแฟรนไชซีจะต้องจ่ายค่าโรยัลตี้และค่าธรรมเนียมการตลาดสำหรับรถขาย เคลื่อนที่ในอัตราเดียวกับที่ซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหาร
ส่วนบริษัทแฟรนไชส์ร้านอาหารรายอื่นก็มองว่าคอนเซ็ปต์ดังกล่าวนี้สามารถ ใช้เป็นหน่วยขายเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นอิสระจากร้านขายอาหารแบบดั้งเดิม
ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา “มัวริซิโอ อาเซเวโด” เจ้าของร้านแบนนาสโตรว์ ยูเอสเอ ในไมอามี่ เริ่มมองเห็นโอกาสที่จะเพิ่มช่องทางให้บรรดาแฟรนไชซีให้สามารถทำธุรกิจขาย ขนมเครปบนรถเคลื่อนที่ ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ ราคา 80,000 ดอลลาร์ และ 150,000 ดอลลาร์ รวมค่าแฟรนไชส์แล้ว เพราะไอเดียนี้ยืดหยุ่นเข้ากับธุรกิจขนมเครปที่ใช้วัตถุดิบไม่มาก มีอุปกรณ์แค่เตาเครป ทำให้สามารถขายได้ทุกที่
ก่อนหน้านี้ แบนนาสโตรว์ยังไม่เคยขายสินค้าผ่านรถโมบาย นับตั้งแต่เริ่มธุรกิจในปี 2546 แฟรนไชซีทั้ง 4 แห่งดำเนินธุรกิจในรูปแบบคีออสและร้านขนาดเล็กที่เปิดในห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่า 150,000 ดอลลาร์”
อีกแฟรนไชส์ที่โฟกัสไปที่รถเคลื่อนที่ คือ ทอปเปอร์ส พิซซ่า ที่มีสาขาดีลิเวอรี่ 28 แห่ง โดยบริษัทได้ลงทุนซื้อรถมาปรับโฉมเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์ใหม่และสาขาที่จะเปิด เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม แม้ในหลายพื้นที่รถเคลื่อนที่เหล่านี้จะมีกลาดเกลื่อน แต่อีกหลายเมืองในสหรัฐยังมีการจำกัดจำนวนผู้ขายอาหารบนท้องถนน ผู้ที่สนใจจะต้องขึ้นทะเบียนและรอคิว ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปี ยังไม่นับรวมความท้าทายจากสภาพอากาศและอุบัติเหตุ ที่อาจส่งผลต่อยอดขายและธุรกิจ
ร้านค้าเคลื่อนที่ ใช้รถบรรทุกขนาดเล็กมาดัดแปลง ทำเป็นร้านขายกาแฟหรืออาจดัดแปลงเป็นอย่างอื่นก็ได้ เช่น เป็นร้านฟาสฟู๊ดแบบไทยๆ,ร้านข้าวแกงเคลื่อนที่ และสามารถเคลื่อนย้ายทำเลค้าขายได้ ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าซึ่งเหมาะสำหรับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยใน ปัจจุบัน ที่ไม่มีเวลาหุงหาอาหารเลยต้องหาอาหารปรุงสำเร็จเรียบร้อยทานได้ทันทีแทน
ก่อนหน้านี้ บรรดาแฟรนไชส์ธุรกิจอาหารอาจต้องปวดหัวกับการเฟ้นหาทำเลดีๆ สำหรับเปิดร้าน เพื่อช่วยปั๊มยอดขายให้ได้คุ้มกับค่าแฟรนไชส์ที่เสียไป แต่ทำเลทองก็มักมาพร้อมราคาที่ไกลเกินเอื้อม ไม่ว่าจะซื้อขาดหรือเช่าก็ตาม
ทว่าตอนนี้ธุรกิจอาหารไม่ต้องกังวลกับเรื่องทำเลอีกต่อไปแล้ว เพราะการเปิดร้านไม่ใช่ทางเลือกเดียวที่จะโกยเงินโกยทอง พวกเขาสามารถทำเงินได้ทุกที่บนท้องถนน
วอลล์สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า ขณะนี้เชนร้านอาหารใหญ่น้อย อาทิ Cousins Submarines เทสติ- ดีไลต์ และทอปเปอร์ส พิซซ่า เริ่มหันมาเกาะกระแส “ร้านอาหารเคลื่อนที่” ที่กำลังมาแรง โดยสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารบนรถเร่ที่ตระเวนไปทั่วทุกมุมถนนในสหรัฐอเมริกา
นี่ทำให้ร้านอาหารแบบดั้งเดิมหลายแห่งหันมาเพิ่มหน่วยรถเคลื่อนที่ในช่วง หลายปีมานี้ และมีแนวโน้มว่าอีกหลายร้านจะพากันร่วมกระแสนี้กันมากขึ้น แม้แต่แบรนด์ดังๆ
“โรเบิร์ต สติดแฮม” ประธานบริษัทแฟรนไชส์ ไดนามิกส์ ระบุว่า ภายในสิ้นปีหน้า ผู้คนจะเริ่มเห็นแบรนด์ใหญ่ๆ เปิดตัวรถขายอาหารเคลื่อนที่มากขึ้น เขายอมรับว่าได้หารืออย่างจริงจังกับแฟรนไชส์อาหารระดับชาติหลายราย เกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจแบบเคลื่อนที่ แต่ไม่ขอเปิดเผยชื่อแบรนด์
“ฌอน บาซินสกี” ผู้อำนวยการโครงการธุรกิจรถเคลื่อนที่ อธิบายว่า รถขายอาหารเคลื่อนที่มักจะเป็นรถปิคอัพหรือรถตู้ที่ตกแต่งใหม่ให้พร้อมพรัก ด้วยเครื่องครัว และอุปกรณ์ที่จำเป็นยัดลงไปในพื้นที่อันจำกัด ซึ่งรถเหล่านี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในหลายเมือง
“ฮัดสัน ไรห์เล” รองประธานอาวุโสฝ่ายวิจัยประจำสมาคมร้านอาหารแห่งสหรัฐในวอชิงตัน กล่าวว่า เว็บไซต์อย่าง ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และโฟร์สแควร์ มีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงร้านอาหารเคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น เพราะจะรู้ข้อมูลว่ามีร้านอะไร ตั้งอยู่บนส่วนไหนของถนนสายอะไร
ขณะที่ในงานแสดงสินค้าปีนี้ที่จัดโดยสมาคม พื้นที่ราว 1,500 ตารางฟุต ถูกจับจองโดยบริษัทที่ขายอาหารบนรถเคลื่อนที่
ไรห์เล กล่าวว่า ผู้บริโภคที่ชื่นชอบการซื้ออาหารระหว่างเดินทางกำลังเพิ่มขึ้น
ด้าน “เอลิซา แฮร์ริสัน” โฆษกของสมาคมแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ มองว่า การขายอาหารบนรถเป็นรูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับธุรกิจแฟรนไชส์
“แอรอน เว็บสเตอร์” หุ้นส่วนของแฟรนไชส์ร้านเทสติ-ดีไลต์ ในฮุสตัน กล่าวว่า เขาซื้อรถตู้มือสองมาเมื่อปีที่แล้ว ในราคา 90,000 ดอลลาร์ โดยซื้อต่อจากบริษัทขนมแช่แข็งแบรนด์ดังรายหนึ่ง จึงมีอุปกรณ์ครบครัน ทั้งตู้เย็นขนาดเล็ก ตู้แช่แข็ง อ่างล้างจาน เคาน์เตอร์ขายสินค้า อุปกรณ์ทำไอศกรีม บาร์ท็อปปิ้ง และเครื่องปั่นไฟ ซึ่งเขานำมาพ่นโลโก้แบรนด์และแอดเดรสเว็บไซต์ของบริษัท
เว็บสเตอร์ อดีตวาณิชธนกร ปิ๊งไอเดียขายไอศกรีมบนรถตู้ในงานเทศกาลต่างๆ ของชุมชน และเป็นช่องทางเสริมในธุรกิจขายอาหารที่เขาซื้อแฟรนไชส์มา เพราะแม้ยอดขายผ่านรถเคลื่อนที่จะมีสัดส่วนเพียง 2% ของรายได้รวมทั้งหมดของธุรกิจที่ทำอยู่ แต่นี่ก็เป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยสร้างความตระหนักเรื่องแบรนด์ให้แก่ผู้ บริโภค เหมือนบิลบอร์ดที่เคลื่อนที่ได้
ถึงตอนนี้ “เว็บสเตอร์” เป็นแฟรนไชซีเพียงรายเดียวของเทสติ-ดีไลต์ ที่มีรถขายอาหารเคลื่อนที่ แต่ “บิลล์ ซิงเก” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของเทสติ-ดีไลต์ กล่าวว่า บริษัทมีแผนจะขยายรถขายเคลื่อนที่อย่างน้อย 10 คันภายในสิ้นปีหน้า
โดยเทสติ-ดีไลต์จะขายรถที่ติดตั้งอุปกรณ์ครบครันให้แก่แฟรนไชซี ซึ่งแฟรนไชซีจะต้องจ่ายค่าโรยัลตี้และค่าธรรมเนียมการตลาดสำหรับรถขาย เคลื่อนที่ในอัตราเดียวกับที่ซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหาร
ส่วนบริษัทแฟรนไชส์ร้านอาหารรายอื่นก็มองว่าคอนเซ็ปต์ดังกล่าวนี้สามารถ ใช้เป็นหน่วยขายเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นอิสระจากร้านขายอาหารแบบดั้งเดิม
ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา “มัวริซิโอ อาเซเวโด” เจ้าของร้านแบนนาสโตรว์ ยูเอสเอ ในไมอามี่ เริ่มมองเห็นโอกาสที่จะเพิ่มช่องทางให้บรรดาแฟรนไชซีให้สามารถทำธุรกิจขาย ขนมเครปบนรถเคลื่อนที่ ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ ราคา 80,000 ดอลลาร์ และ 150,000 ดอลลาร์ รวมค่าแฟรนไชส์แล้ว เพราะไอเดียนี้ยืดหยุ่นเข้ากับธุรกิจขนมเครปที่ใช้วัตถุดิบไม่มาก มีอุปกรณ์แค่เตาเครป ทำให้สามารถขายได้ทุกที่
ก่อนหน้านี้ แบนนาสโตรว์ยังไม่เคยขายสินค้าผ่านรถโมบาย นับตั้งแต่เริ่มธุรกิจในปี 2546 แฟรนไชซีทั้ง 4 แห่งดำเนินธุรกิจในรูปแบบคีออสและร้านขนาดเล็กที่เปิดในห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่า 150,000 ดอลลาร์”
อีกแฟรนไชส์ที่โฟกัสไปที่รถเคลื่อนที่ คือ ทอปเปอร์ส พิซซ่า ที่มีสาขาดีลิเวอรี่ 28 แห่ง โดยบริษัทได้ลงทุนซื้อรถมาปรับโฉมเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์ใหม่และสาขาที่จะเปิด เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม แม้ในหลายพื้นที่รถเคลื่อนที่เหล่านี้จะมีกลาดเกลื่อน แต่อีกหลายเมืองในสหรัฐยังมีการจำกัดจำนวนผู้ขายอาหารบนท้องถนน ผู้ที่สนใจจะต้องขึ้นทะเบียนและรอคิว ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปี ยังไม่นับรวมความท้าทายจากสภาพอากาศและอุบัติเหตุ ที่อาจส่งผลต่อยอดขายและธุรกิจ
ร้านค้าเคลื่อนที่ ใช้รถบรรทุกขนาดเล็กมาดัดแปลง ทำเป็นร้านขายกาแฟหรืออาจดัดแปลงเป็นอย่างอื่นก็ได้ เช่น เป็นร้านฟาสฟู๊ดแบบไทยๆ,ร้านข้าวแกงเคลื่อนที่ และสามารถเคลื่อนย้ายทำเลค้าขายได้ ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าซึ่งเหมาะสำหรับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยใน ปัจจุบัน ที่ไม่มีเวลาหุงหาอาหารเลยต้องหาอาหารปรุงสำเร็จเรียบร้อยทานได้ทันทีแทน
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt