ชา-อา-โม ซึ่งเป็นการนำชาโบราณ มาผสมกับครีมเหลวของอังกฤษ ใช้คอฟฟี่เมตชนิดไม่มีคอเลสเตอรอล และผงมัตฉะของญี่ปุ่น ส่วนน้ำตาลจะใช้แบบไม่ขัดขาว ชารายการที่ 2 คือ ชานมไต้หวัน ซึ่งจะใช้ชา 3 ชนิดผสมกัน แล้วปรุงรสด้วยน้ำเชื่อมฟรักโตส ต่อมาคือ ชามะลิ โดยมีชาเขียวจากจังหวัดเชียงราย ชาขาวจากไต้หวัน และมะลิอบแห้ง มาผสมเข้าด้วยกัน”
แรกเห็นรถมินิทรักคันเล็กกะทัดรัดที่
ถูกตกแต่งติดสติ๊กเกอร์โดดเด่นด้วยโทนหลักส้มสดใส จึงเกิดอาการเข้าตา
จนต้องขอเข้าไปเยี่ยมเยือนใกล้ๆ
ด้วยเพราะเป็นรถที่นำมาตกแต่งเพื่อการค้าขายภายใต้สินค้าชานมไข่มุก
ที่ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “Cha-R-MO” (ชา-อา-โม)
เห็นรูปแบบการค้าขาย กอปรกับลิ้มรสชาแล้วถึงกับต้องขอเข้าไปพูดคุย
กับ คุณธมลวรรณ โสธร หรือ คุณโม ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
ซึ่งเมื่อได้คุยต้องบอกว่าเรื่องราวของ Cha-R-MO น่าสนใจ จนต้องนำเรื่องมาเล่าไว้ใน “รายงานพิเศษ” ฉบับนี้
จากคนชอบดื่มชากลายมาเป็นคนขาย
คุณธมลวรรณ เปิดบทสนทนา ด้วยคำพูดที่ฟังดูแล้วไม่น่าเชื่อว่า
ผู้หญิงท่าทางกระฉับกระเฉงคนนี้จะเข้าใกล้วัยเกษียณแล้ว
ซึ่งกับการเดินสู่เส้นทางสายอิสระก็เพื่อไว้รองรับในวันต้องผละจากงานประจำ
ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งฝ่ายขาย และเป็นอาจารย์บรรยายด้านการขาย
ในบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ซึ่งรวมประสบการณ์ทำงาน จนถึงวันนี้ 20
ปีแล้ว
จากประสบการณ์การทำงาน ได้พบเจอกลุ่มคนหลากหลาย
ทำให้คุณธมลวรรณเป็นต่อเรื่องการตลาด รู้ช่องทางเข้าถึงลูกค้า
และนี่จึงเป็นที่มาให้เลือกสร้างอาชีพบนหนทางอิสระ
ส่วนสินค้านำมาจำหน่ายควรจะเป็นอะไรนั้น คุณธมลวรรณไม่ได้มองแต่เพียงเห็นโอกาสทางการตลาด แต่ควรทำในสิ่งที่รัก
“ตัวเองเป็นคนชอบดื่มชามาก
และมีโอกาสเดินทางไปหลายๆ ประเทศ
ทำให้รู้ว่าชาแต่ละแห่งมีรสชาติและความโดดเด่นอย่างไร ซึ่งถ้าย้อนไปประมาณ
7-8 ปีที่แล้ว ชานมไข่มุกจากประเทศไต้หวัน เข้ามาในประเทศไทย
และได้รับความนิยมมาก ตอนนั้นเราก็เป็นแค่คนดื่มชา
เห็นว่าบางยี่ห้อชาอร่อยมาก แต่ตัวมุกแข็งไป ร่วนไป บางยี่ห้อมุกอร่อย
แต่ตัวชาหวานเกินไป ซึ่งถ้าจะบอกให้เขาปรับเปลี่ยนคงเป็นไปไม่ได้
เพราะนั่นคือสูตรของเขา จึงต้องปล่อยผ่านไป”
แต่ด้วยเป็นนักชิมชา และอยากได้ชารสถูกใจ จึงคิดว่าถ้าอย่างนั้นทำกินเองดีกว่า แต่ปัญหาคือ ทำอย่างไร
อินเตอร์เน็ต จึงถูกเปิดเพื่อค้นหาข้อมูลกระบวนการทำ แต่แล้วก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะรสไม่ผ่าน
หาความรู้ ใส่วิชาเปิดหน้าร้านบนรถ
เพียงแค่คิดทำกินคงไม่ใช่คุณธมลวรรณ กับการสานสู่อาชีพอิสระจึงเริ่มต้นขึ้น โดยได้ชักชวน
คุณพัชราภรณ์ คันธารักษ์ หรือ
คุณเก๋ เข้าร่วมหัวจมท้าย
ด้านองค์ความรู้นำมาสู่สูตร “ได้มีโอกาสเดินทางไปชมงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม
และในงานนั้นก็มีผู้ประกอบการค้าขายชาจากหลายๆ ประเทศ
นำผลิตภัณฑ์มาร่วมออกงาน ถ้าพูดถึงชานมไข่มุกต้นตำรับคือไต้หวัน
ซึ่งในวันนั้นเดินทางมากว่า 10 บู๊ธ
แต่มีอยู่แบรนด์หนึ่งที่เปิดตัวในรูปแบบแฟรนไชส์
ซึ่งเราสนใจจึงเข้าไปติดต่อ แต่ด้วยติดตรงเงื่อนไข จึงไม่ได้ซื้อแฟรนไชส์
แต่เลือกที่จะเรียนรู้วิธีทำชาจากเขา ซึ่งก็ใช้เงินไปหลายหมื่นบาท”
รสชาติชาไต้หวันขนานแท้
คนไทยลิ้มรสแล้วอาจไม่ถูกปากเพราะค่อนข้างจืด ด้วยเหตุนี้
ว่าที่สองผู้ประกอบการจึงขอความรู้จากอาจารย์ด้านฟู้ดไซน์ท่านหนึ่ง
ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำในด้านส่วนผสมนำมาปรุงให้ได้รสกลมกล่อม
แม้รสชาติชาจะออกมาดีในมุมมองของผู้ปรุง
แต่ทว่าถ้าจะทำออกจำหน่าย ความเห็นของผู้บริโภคส่วนใหญ่น่าจะตอบได้ว่า
สินค้ามีทิศทางเดินได้ในท้องตลาดหรือไม่ ฉะนั้น
คุณธมลวรรณจึงผลิตออกมาให้ผู้บริโภคได้ลิ้มรสราว 100 คน
จากนั้นนำคำติชมไปปรับปรุงพัฒนา จนกระทั่งก่อเกิดเป็น Cha-R-MO
“ใช้เวลาพัฒนาสูตรประมาณ 3 เดือน จนกระทั่งลงตัว ก็มาสู่
กระบวนการคิดถึงช่องทางตลาด ซึ่งถ้าว่ากันด้วยพื้นที่จำหน่าย
ในห้างสรรพสินค้าก็จะมีแบรนด์ใหญ่อยู่ก่อนแล้ว และเราในฐานะน้องใหม่
คงไม่อาจเข้าไปสู้กับเขาได้ ทั้งค่าเช่าพื้นที่ก็สูงมาก
หรือถ้าจะต้องรอเวลา ก็ต้องบอกว่าคงไม่ได้ เพราะอายุของเราใกล้เกษียณแล้ว
จึงต้องหาวิธีเข้าถึงลูกค้าให้เร็ว”
จวบจนได้มีโอกาสเดินทางไปชมงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับ
เอสเอ็มอีอีกครั้ง และครั้งนี้ทำให้สองผู้ประกอบการได้รู้จักกับรถมินิทรัก
ภายใต้แบรนด์ DFSK ของ บริษัท ตงฟง มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
“เห็นว่าราคาไม่แพง และทำมาเพื่อเอสเอ็มอี เพื่อการค้าขาย
มีการประกอบโครงหลังคาให้ ถ้านำรถมาติดสติ๊กเกอร์ ตกแต่งใส่สีสันสวยสะดุดตา
ก็น่าจะเป็นช่องทางจำหน่ายที่ดี
สามารถสร้างความแปลกใหม่ให้กับร้านขายชานมไข่มุกด้วย”
ได้รถเปิดหน้าร้านจุดเด่นดึงดูดลูกค้า
เมื่อได้รถเป็นหน้าร้าน มาถึงกระบวนการตั้งชื่อแบรนด์สินค้า “เวลา
หลานๆ หรือลูกของเพื่อนๆ มาที่บ้าน หรือได้เจอะเจอกัน เขาจะบอกว่า
อาโมชงเครื่องดื่มอย่างโน้นอย่างนี้ให้กินหน่อย
ตรงนี้จึงได้ชื่อแบรนด์ออกมาว่า ชา-อา-โม ซึ่งฟังดูแล้วมีความเป็นสากลด้วย
และเราก็มองไปถึงตัวมาสคอตสัญลักษณ์สำคัญ
ก็เลยเลือกเป็นรูปการ์ตูนผู้หญิงที่สื่อถึงคุณเก๋ หุ้นส่วนของ ชา-อา-โม
ส่วนโลโก้จะมี 3 สี คือ ส้ม ซึ่งสื่อถึงชาโบราณ ที่คนไทยรู้จักดี
สีเขียวมาจากใบชา และสีขาวมาจากความสะอาดบริสุทธิ์ของน้ำที่นำมาผลิต”
เมื่อคิดทุกอย่างลงตัวแล้ว จึงจัดจ้างดำเนินการตกแต่งตัวรถ
ให้เกิดความโดดเด่นสะดุดตา
“ตัวรถนั้นเดิมทีทางบริษัทผู้จำหน่ายจะทำหลังคาไว้ที่ความสูง 1.60 เมตร
เราก็ขยายความสูงไปที่ 1.80 เมตร เพราะหากคนขายเป็นผู้ชายจะได้ลุกยืนสะดวก
ส่วนด้านข้าง 3 ด้านติดตั้งเคาน์เตอร์เพื่อวางอุปกรณ์และวัตถุดิบ
เวลาหยิบใช้ได้สะดวก”
การขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ คือจุดประสงค์ที่ Cha-R-MO
ตั้งไว้ตั้งแต่แรกเริ่มธุรกิจ ฉะนั้น
ในส่วนของวัตถุดิบต้องรองรับได้อย่างพอเพียง
อีกทั้งในด้านอุปกรณ์การขายก็มีให้พร้อม แต่กระนั้นในส่วนของทำเล
ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จะทำการค้า แต่ทั้ง 2 ผู้ประกอบการแนะนำว่า
ทำเลที่ดีนั้นควรอยู่ในย่านชุมชน ใกล้หน่วยงานราชการ-เอกชน โรงพยาบาล
สถานที่พักอาศัย อย่างหอพัก เป็นต้น และอีกหนึ่งทำเลที่ Cha-R-MO
พิสูจน์แล้วว่าตอบโจทย์ คือ อยู่ใกล้ หรือในสถานศึกษา
“
โรงเรียน เป็นทำเลที่ดีมาก เวลาขายก็
ชัดเจน คือ เช้า กลางวัน และเย็น อย่างถ้าโรงเรียนไหนมีนักเรียนประมาณ
3,000 คน แค่มาซื้อสัก 10 เปอร์เซ็นต์ ก็อยู่ได้แล้ว
ส่วนถ้าต้องมีค่าเช่าจะให้ดีน่าจะประมาณ 10,000 บาท ก็เท่ากับวันละ 300 บาท
อาจมีค่าน้ำค่าไฟวันละ 100 บาท ค่าจ้างพนักงานวันละ 300 บาท
บวกคอมมิสชั่นอีกประมาณ 100 บาท ซึ่งอาจให้เขาแก้วละ 50 สตางค์
รายจ่ายหลักๆ ก็ประมาณ 800 บาท”
ราคาขายเข้าถึงอากาศร้อนขายได้
แม้ทำเลใกล้หรือในสถานศึกษาโอกาสขายมีมาให้เห็น แต่กระนั้นก็อาจมีคำถามตามมาว่า ช่วงปิดเทอมจะทำเช่นไร เพราะโอกาสขายได้แทบจะเป็นศูนย์ ทั้งนี้ คุณธมลวรรณได้แสดงทางออกไว้ว่า
“ข้อดีของการค้าโดยมีหน้าร้านอยู่บนรถ คือ
สามารถปรับเปลี่ยนทำเลขาย ไปยังที่ใหม่ๆ ได้ ซึ่งอย่างในช่วงปิดเทอม
อาจเปลี่ยนทำเลไปอยู่ใกล้โรงเรียนสอนพิเศษแทน
แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรติดต่อจับจองพื้นที่ไว้ให้เรียบร้อย”
จากกลุ่มเป้าหมายที่มองไว้ตั้งแต่วัยศึกษา ฉะนั้น การตั้งราคาขายจึงต้องมีความเป็นไปได้ในอำนาจซื้อ โดยกำหนดไว้กับชาทุกชนิดเมนูละ 30 บาท ขนาดแก้ว 22 ออนซ์ พร้อมไข่มุก
ส่วนเมนูนั้นมีให้เลือกกว่า 10 เมนู
“ชาที่ทำออกมาในตอนแรกๆ คือ ชา-อา-โม ซึ่งเป็นการนำชาโบราณ
มาผสมกับครีมเหลวของอังกฤษ ใช้คอฟฟี่เมตชนิดไม่มีคอเลสเตอรอล
และผงมัตฉะของญี่ปุ่น ส่วนน้ำตาลจะใช้แบบไม่ขัดขาว ชารายการที่ 2 คือ
ชานมไต้หวัน ซึ่งจะใช้ชา 3 ชนิดผสมกัน แล้วปรุงรสด้วยน้ำเชื่อมฟรักโตส
ต่อมาคือ ชามะลิ โดยมีชาเขียวจากจังหวัดเชียงราย ชาขาวจากไต้หวัน
และมะลิอบแห้ง มาผสมเข้าด้วยกัน”
แม้ Cha-R-MO จะเพิ่งเปิดตัวมายืนอยู่บนตลาดได้ประมาณ 2 เดือน
แต่คุณธมลวรรณก็ภาคภูมิใจกับผลตอบรับที่บัดนี้มีสาขาทั้งที่เป็นของตนเอง
และผู้สนใจนำไปสานสร้างธุรกิจรวมแล้ว 5 แห่ง
และในวันนี้ได้จับจองรถมินิทรักเพิ่ม 6 คัน
โดยเป็นของผู้สนใจซื้อสิทธิ์นำไปประกอบธุรกิจ 2 ราย และอีก 4 คันนั้น
สองผู้ประกอบการจะนำไปจอดขายในทำเลที่หมายมั่นไว้
“20 สาขา คือเป้าหมายปลายปี 2557 โดยตอนนี้มีผู้สนใจนำไปเปิดขายที่สุราษฎร์ธานี ซึ่งใน
เรื่องการขนส่งวัตถุดิบไม่มีปัญหา เพราะใช้บริการบริษัทขนส่ง
ส่วนในกรุงเทพฯ ก็จะมีพนักงานส่งสินค้าให้
ซึ่งเรามองว่าธุรกิจชายังเดินได้ในตลาด เหตุผลคือ เมืองไทยเป็นเมืองร้อน
คนชอบดื่มเครื่องดื่มเย็น ประการที่สองคือด้วยรสชาติความหวานหอม
หรือถ้าไม่ต้องการชานม แต่อยากดับกระหายคลายร้อน เราก็มีบริการชาสมุนไพร
ชาผลไม้ ไว้เป็นทางเลือก”
เริ่มต้นกับอุปสรรคถ้าผ่านได้ ก็ไปรอด
ทั้งนี้ คุณธมลวรรณ ยังกล่าวต่ออีกว่า
หากลูกค้าท่านใดไม่ประสงค์จะเปิดหน้าร้านโดยใช้รถ
เพราะอาจมีพื้นที่เป็นห้องค้าของตนเองอยู่แล้ว
หรือต้องการเพียงแค่คีออสขนาดพอเหมาะ ก็มีรูปแบบไว้ให้บริการ เช่นกัน
หรือหากต้องการนำสินค้าอื่นใดมาเพิ่มยอดขาย หรือต่อยอดธุรกิจเดิม
ก็สามารถทำได้
ถามถึงอุปสรรคปัญหากับการทำธุรกิจนี้ คุณธมลวรรณ
เล่าให้ฟังว่า “ชา-อา-โม เปิดตัวออกสู่ตลาดในเดือนกันยายน
ซึ่งก็มีเสียงคัดค้านหนาหู เพราะเป็นช่วงฤดูฝน นี่คืออุปสรรคของการค้าขาย
แต่เราก็ตัดสินใจลงมือทำ ด้วยเหตุผลที่ว่า เจอปัญหาให้หนักๆ ในตอนแรก
จะได้รู้ไปเลยว่าอยู่ได้หรือไม่
แต่การตัดสินใจก็อยู่บนพื้นฐานที่เราเข้าใจว่า ยังไงฝนก็ไม่ตกวันละ 8
ชั่วโมง ต้องมีช่วงที่ฝนหยุด พอหยุดก็คิดว่าต้องฉกฉวยโอกาส
แต่ปรากฏว่าสัปดาห์แรกเราท้อมาก คิดเลยว่าเคยทำงานได้เงินเดือนเป็นแสน
แล้วมาขายชาแก้วละ 30 บาท ขายก็ไม่ดี เลิกแล้วขายรถดีมั้ย
ไอ้ที่ขาดทุนก็ช่างมัน”
แต่สุดท้าย คุณธมลวรรณก็กลับมาทบทวนว่า
จุดประสงค์ของการก้าวเดินสู่อาชีพนี้คืออะไร
“นี่คืออาชีพที่เราหวังไว้รองรับหลังเกษียณ
และอีกประการหนึ่งคือเพื่อจะได้ตกทอดสู่ลูกหลานได้สานต่อ
ให้เขาได้มีทางทำกิน ให้เขาได้เรียนรู้และเข้าใจคุณค่าของเงิน”
ฉะนั้น Cha-R-MO จึงไม่ถูกพับเก็บ แต่ยังคงเปิดดำเนินธุรกิจ และจนล่วงสู่สัปดาห์ที่ 2 ทั้ง 2 ผู้ประกอบการก็เริ่มยิ้มได้ เพราะสินค้าเข้าไปอยู่ในใจผู้ซื้อ
หากศึกษารายละเอียดแล้ว
ผู้สนใจท่านใดต้องการก้าวสู่เส้นทางสายนี้ คุณธมลวรรณ
กล่าวถึงการลงทุนไว้หลักๆ คือ ค่าจับจองรถกับบริษัทผู้จัดจำหน่าย
ซึ่งค่าดาวน์รถประมาณ 50,000-60,000 บาท
นอกจากนั้นในส่วนของค่าใช้จ่ายแฟรนไชส์ Cha-R-MO อยู่ที่ 200,000 บาท
โดยสิ่งที่จะได้รับหลังจับจอง อาทิ การตกแต่งบนตัวรถ ป้ายแสดงรายการสินค้า
ป้ายเมนูขนาดเล็ก 2,000 ใบ กระดานดำ ชุดโต๊ะเก้าอี้ขนาดกะทัดรัด
อุปกรณ์การขาย อาทิ กระติกน้ำร้อน เครื่องซีลออโตเมติกระบบนับแก้ว
กระติกเก็บความร้อนความเย็นได้ 12 ชั่วโมง โถใส่เครื่องปรุงและท็อปปิ้ง
ถังน้ำแข็ง และรวมไปถึงสินค้าพร้อมจำหน่าย 1,000 แก้ว
นอกจากนั้น ยังสอนกระบวนการชงชา แบบไม่ปิดบัง และทำการตลาดให้
3-5 วัน ขึ้นอยู่กับทำเล อีกทั้งยังมอบสิทธิพิเศษให้กับแฟรนไชซี
ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการกระตุ้นยอดขาย
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างบนเส้นทางสายอิสระ ที่เลือกรถมาเป็นหน้าร้าน กับ Cha-R-MO
สนใจติดต่อ Cha-R-MO
ตั้งอยู่ เลขที่ 98/231 หมู่ 1 หมู่บ้านเดอะทรัสต์ทาวน์ ราชพฤกษ์
ตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ (081) 833-4877
credit by :
http://www.sentangsedtee.com/news_detail.php?rich_id=1277§ion=14&column_id=46