นับเป็นบริการที่อำนวยความสะดวกให้คนเมืองได้อิ่มอร่อยกับอาหารที่ราคา ไม่แพงหากจะเทียบกับการนั่งตามร้านอาหาร ทั้งยังหาได้ง่ายๆ ไม่ต้องเดินไกล ช่วยประหยัดทั้งงบและประหยัดเวลา จึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในธุรกิจอาหารของสหรัฐอเมริกาที่มีการเติบโตอย่างโดด เด่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
หลายคนมองว่ารถขายอาหารเป็นการเริ่มต้นที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการหน้า ใหม่ที่ต้องการเริ่มธุรกิจด้านอาหาร แต่เอาเข้าจริง ผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่หลายรายที่มีร้านอาหารเป็นหลักเป็นฐานอยู่หลายสาขา แล้ว เช่น เชนร้านฟาสต์ฟูดทาโก้ เบลล์ แจ๊ค อิน เดอะ บ๊อกซ์ และเทสตี้ ดี-ไลท์ ต่างก็มีรถขายที่ออกวิ่งตระเวนตามถนนเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจำหน่าย ทำการตลาด และประชาสัมพันธ์ แม้แต่โรงแรมหรูอย่างฮิลตัน ก็ยังมีแผนจะนำรถมาตกแต่งเพื่อวิ่งแจกคุกกี้ฟรีเป็นการประชาสัมพันธ์ร้าน คุกกี้ "ดับเบิ้ลทรี" ของโรงแรมในช่วงฤดูร้อนนี้ด้วย
รถ ขายอาหารมักมีการนำเสนอนวัตกรรมด้านอาหารเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการกิน ที่เรียบง่าย (ส่วนใหญ่ไม่มีที่ให้ลูกค้านั่งอีกต่างหาก) ว่องไว นำเข้าปากได้สะดวกไม่เลอะเทอะมือ เช่น อาหารเกาหลีที่ห่อมาในแป้งทาโก้แบบเม็กซิกัน เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คนติดใจก็คือ การได้พูดคุยกับคนอื่นๆระหว่างยืนเข้าคิวรอ รวมถึงการคอยเข้าเช็กข่าวในเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างทวิตเตอร์ว่าในแต่ละ วันจะมีรถอาหารยี่ห้อที่รอคอยตระเวนมาให้อุดหนุนที่ถนนหรือตรอกซอยใดบ้าง นอกจากนี้ รถบางคันก็ยังเปิดครัวให้เห็นการเตรียมอาหารอีกด้วย นับเป็นประสบการณ์ที่น่าเพลิดเพลินสำหรับลูกค้าระหว่างการรอคอย
อย่าง ไรก็ตาม การขยายตัวของธุรกิจรถอาหารทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารในย่านที่รถอาหารวิ่ง ผ่านไม่รู้สึกเพลิดเพลินไปด้วย เพราะแน่นอนว่า ลูกค้าส่วนหนึ่งของร้านถูกช่วงชิงไป เมลลิสซา เมอร์ฟี เจ้าของร้านขายขนมอบ 2 สาขาในย่านบรูกลินของนิวยอร์ก ให้ความเห็นว่า ในทรรศนะของเธอ รถอาหารที่วิ่งตระเวนมาจากย่านอื่นได้เข้ามาสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจ ร้านอาหารในพื้นที่ "เรามีรถพวกนี้วิ่งเข้ามาอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด"
นอกจากการแย่งลูกค้ากับร้านอาหารแล้ว ปัญหาอีกประการที่ตามมาคือ รถอาหารที่เข้ามาจอดให้บริการลูกค้าบริเวณริมถนน ได้กลายเป็นสาเหตุทำให้ช่องทางการสัญจรแคบลง ที่จอดรถน้อยลง และรถติดมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเสียงร้องเรียนจากคนที่พักอาศัยอยู่ในละแวกนั้นว่า รถอาหารเป็นตัวปล่อยไอเสียขณะวิ่งเข้ามาจอด
แน่นอนว่า เรื่องร้องเรียนและปัญหาข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่หน่วยงานในพื้นที่กำลังหาทาง จัดการแก้ไขอยู่ เมืองใหญ่บางแห่งของสหรัฐอเมริกา เช่น ในนิวยอร์ก บรรดารถอาหารที่เข้ามาจอดริมถนนในบริเวณที่มีมิเตอร์จอดรถติดตั้งอยู่ จำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการจอดซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะจอดนานมากหรือน้อย เพียงใด ส่วนสภาเมืองซีแอตเติลก็กำลังพิจารณาข้อเสนอที่ให้มีการจำกัดพื้นที่จอด สำหรับรถอาหาร และเพิ่มกฎระเบียบเข้มงวดมากขึ้นเพื่อไม่ให้ออกมาวิ่งและจอดตามริมถนนทั่วไป ขณะเดียวกันที่ชิคาโก ที่ซึ่งนายราห์ม เอ็มมานูเอล นายกเทศมนตรีคนปัจจุบันสนับสนุนให้รถอาหารเข้ามาวิ่งให้บริการตามจุดต่างๆ ได้ แต่เขาก็กำลังถูกกดดันหนักจากคณะกรรมาธิการบริหารให้ตั้งข้อจำกัดที่เข้มงวด มากขึ้นเพื่อตีกรอบรถพวกนี้ ยกตัวอย่างเช่น ห้ามเข้ามาจอดให้บริการในจุดที่มีร้านอาหารตั้งอยู่ในรัศมีอย่างน้อย 200 ฟุต
ส่วน ที่เมืองราเลย์ ในรัฐนอร์ธ แคโรไลนา คณะกรรมาธิการผังเมืองได้ให้การอนุมัติกฎระเบียบใหม่เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่าน มา ขีดกรอบคุมเข้มรถขายอาหารเช่นกัน เช่น ห้ามรถอาหารใช้เครื่องขยายเสียงและห้ามจอดยึดครองพื้นที่
เมื่อเจอกฎคุมเข้มมากขึ้น ผู้ประกอบการรถอาหารจำนวนไม่น้อยได้ออกมาปกป้องตัวเอง "รถอาหารมีคุณประโยชน์ต่อชุมชนเมือง มันช่วยให้พื้นที่สาธารณะมีกิจกรรมเกิดขึ้น" นายเดวิด เวเบอร์ ประธานสมาคมรถอาหารแห่งมหานครนิวยอร์กกล่าว มุมมองนี้สอดคล้องกับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐบาลในบางแห่งที่ พยายามชักจูงให้รถอาหารวิ่งเข้าไปให้บริการในพื้นที่สาธารณะที่ยังไม่ค่อยมี ผู้คนมากนัก เป้าหมายก็เพื่อสร้างความคึกคักและดึงดูดผู้คนให้เข้าไปมีกิจกรรม ยกตัวอย่างในนิวยอร์ก เจ้าหน้าที่ได้พยายามชักจูงให้รถขายอาหารเข้าไปจอดให้บริการในสวนสาธารณะ หลายแห่งมากขึ้น แต่มันก็ไม่ง่ายนัก
"ผม ว่ามันค่อนข้างจะน่าเบื่อเมื่อพูดถึงการเข้าไปจอดรถขายอาหารในสวนสาธารณะ" ดั๊ก ควินท์ เจ้าของธุรกิจรถตู้จำหน่ายไอศกรีม "บิ๊ก เกย์ ไอศกรีม" กล่าว รถไอศกรีมของบิ๊กเกย์เน้นเข้าไปวิ่งในพื้นที่ย่านธุรกิจที่มีคนพลุกพล่าน มากกว่า เช่นรอบๆจัตุรัสยูเนี่ยนสแควร์
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ธุรกิจรถอาหารยังคงมีการขยายตัวที่ดี และแทรกซึมเข้าไปตามชุมชนต่างๆ จากเมืองใหญ่กระจายสู่เมืองรองๆลงไป หลายคนมองว่า รถขายอาหารทำให้คนในชุมชนหรือคนในละแวกเดียวกันได้ทำความรู้จักมักจี่กันมาก ขึ้น เพราะโดยทั่วไปอาจใช้ชีวิตของตนเองโดยไม่สนใจใคร แต่เมื่อต้องมาเข้าแถวยืนรอหน้ารถที่จอดจำหน่ายอาหารด้วยกัน นั่นก็เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนจะได้หันมามองหน้ากันเต็มตาและเริ่มพูดคุยไถ่ ถามสารทุกข์สุกดิบหรือทำความรู้จักกัน ว่ากันว่านี่แหละเสน่ห์แท้จริงของครัวติดล้อ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,655 24-27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt