ในสังคมอเมริกันที่ราคาค่างวดในการการกินอาหารตามร้านหรือภัตตาคารแต่ละ ครั้งสูงใช่ย่อย ในขณะที่ผู้คนที่มีรายได้ไม่มากต้องการบริโภคอาหารราคาประหยัด ไม่ต้องจ่ายค่าทิป อาหารมีคุณภาพดี และสะดวกต่อการรับประทานภายใต้วิถีชีวิตที่รีบเร่งของคนเมือง วิถีการกินแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมจึงเกิดขึ้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.ดร.วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน จากภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยบราวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มาบรรยายพิเศษทางคติชนวิทยาเรื่อง "Foodscape...พื้นที่อาหาร" ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ศ.ดร.วรรณี เล่าถึงปรากฏการณ์ใหม่ทางด้านอาหารที่เพิ่งเกิดขึ้นในพื้นที่มหาวิทยาลัยบราวน์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาคือ Food Truck หรือรถตู้ขายอาหาร เป็นยานพาหนะซึ่งเคลื่อนที่ไปตามจุดชุมชนต่าง ๆ เพื่อขายอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งมีตั้งแต่อาหารมื้อเช้า เที่ยง เย็น รวมไปถึงขนมขบเคี้ยว อาหารว่าง
โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยบราวน์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Providence รัฐ Rhode Island ศ.ดร.วรรณีเล่าว่า ขณะนี้มีนักเรียนจากหลากหลายชาติมาเรียนมากขึ้น รวมถึงคนอเมริกันเชื้อสายอื่น ๆ เช่น จีน เกาหลี เม็กซิกัน
...คนกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มลูกค้าของรถตู้ขายอาหาร
ที่สำคัญ ในอเมริกา การไปกินในร้านอาหารหรือภัตตาคาร นอกจากราคาค่อนข้างสูงแล้ว จะต้องมีค่าทิปอย่างน้อย 15-20% ด้วย
และสำหรับมหาวิทยาลัยบราวน์ นักศึกษาที่อยู่ในหอพัก ส่วนหนึ่งจะถูกให้เซ็นสัญญาทานอาหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งค่อนข้างแพง ขณะที่อาหารแบบอเมริกันก็รู้กันว่าน่าเบื่อ ถ้านักศึกษาคนนั้นเป็นชาวต่างชาติ การได้ซื้ออาหารนานาชาติหรือจากชาติของตนจากรถตู้ขายอาหาร จึงกลายเป็นสิ่งน่าลิ้มลอง...
ในประเด็นนี้ ศ.ดร.วรรณีเห็นว่า มีนัยยะสำคัญเชิงสังคม-วัฒนธรรม
ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ขายอาหารรถตู้ก็มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันที่น่าสนใจด้วย โดยพบว่า ผู้ขายมีการร่วมมือซึ่งกันและแทนที่จะแข่งขันกันอย่างเดียว จากการพูดคุยพบว่า คนที่ขายอาหารฝรั่งเศสจะดีใจที่มีรถตู้ของอาหารชาติอื่น ๆ มาจอดขายข้าง ๆ เพราะจะทำให้บรรยากาศของการขายอาหารในบริเวณนั้นสนุกและมีความหลากหลายมาก ขึ้น
นอกจากนี้ Food Truck ยังอัพเดตเมนูใหม่ ๆ ให้ติดตามผ่านทางสื่อออนไลน์อีกด้วย ส่วนเจ้าของรถตู้ก็ติดต่อระหว่างกันด้วยวิธีการเดียวกัน เช่น รถตู้อาหารเกาหลีมาจอดขายที่ใดที่หนึ่งแล้ว ก็ส่งข้อความไปบอกรถตู้เจ้าอื่นว่ามาถึงแล้ว หรือมีใครมาบ้าง ทำให้เกิดการชักชวนกันมา
ซึ่งขณะนี้มีข่าวว่า ส่วนราชการของกรุงวอชิงตันกำลังตัดสินใจเรื่องกฎหมายที่จะใช้ควบคุมพื้นที่ ที่ Food Truck สามารถทำการได้ โดยร้านอาหารและภัตตาคารในกรุงวอชิงตันจ่ายเงินจำนวน 60-70 เหรียญสหรัฐต่อตารางฟุตสำหรับการได้พื้นที่ในการทำธุรกิจที่ดีที่สุด
มีข้อมูลจากบางส่วนจาก INC Quity.com เว็บไซต์คู่มือสำหรับผู้ประกอบกิจการระบุว่า ในบอสตันมีจำนวน Food Truck เกิดขึ้นถึง 38 คัน เพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิมเพียง 17 คันในช่วงปีที่ผ่านมา หรือแค่ 6 คันในปี 2010 ในเซนต์หลุยมีจำนวน 39 คัน เพิ่มขึ้นจาก 14 คันในปีที่แล้ว จากจำนวนเป็นศูนย์เมื่อปี 2010
ศ.ดร.วรรณีเล่าอีกว่า ที่เมือง Providence เคยมีกรณีขัดแย้งระหว่างร้านขายอาหาร Better Berger Company (BBC) กับ Food Truck จนเป็นเรื่องเป็นราวทางหน้าหนังสือพิมพ์มาแล้ว
โดยเจ้าของร้าน BBC ซึ่งเป็นคนค่อนข้างก้าวร้าวได้กล่าวหาว่า พวกอาหารรถตู้ไปจอดบังร้านค้า
แต่เจ้าของ Food Truck เคยให้สัมภาษณ์ว่า พวกเรารู้จักกันอยู่ 4-5 เจ้า อยู่อย่างร่วมมือกัน และเข้าใจคนอื่น ไม่คิดจะแย่งลูกค้าจากร้านด้วยวิธีเช่นนั้น จึงไม่เคยเอารถไปจอดบังหน้าร้านอย่างที่ถูกกล่าวหา และในความเห็นของเขา อาหารขึ้นอยู่กับความพอใจของคน ว่าจะเลือกซื้อ เลือกกินอะไร
เพราะดูท่าจะคลับคล้ายคลับคลากับหาบเร่แผงลอย หรือรถเข็นขายอาหารบนฟุตบาททั้งหลาย ที่ไม่ต้องเคลื่อนที่เหมือน Food Truck แต่มีอยู่ทั่วถนนทุกสายและทุกตรอกซอกซอยให้เราเลือกบริโภค แม้เราจะอิ่มท้องในราคาที่ถูก แต่การทำมาหากินบนการยึดครองฟุตบาทซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างแทบจะถาวร เช่นนี้ ก็เป็นปัญหาที่ควรจะแก้ไขเช่นกัน!
credit by : http://www.isranews.org/thaireform-doc-health/item/18711-Food-Truck.html
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt